วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

                 ความหมาย       
                             
   

เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Network Computer System) ที่ใหญ่ที่สุด เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายในโลกเข้าด้วยกัน เช่นเครือข่ายแลน เครือข่ายของเครื่องมินิหรือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์แต่ละเครือข่ายจะต้องมีเครื่องแม่ข่าย(Server) ที่เรียกว่า โฮสต์(Host)  คอมพิวเตอร์หน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ                                   




   
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
                                         
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด


สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา 
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

การใช้งาน การเชื่อมต่อแบบต่างๆ

 การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
เริ่มเชื่อมต่อครั้งแรกในปี 2532 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุดประสงค์เพื่อใช้รับส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลล์กับประเทศออสเตรเลียศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(NECTEC) จัดทำโครงการ
เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น
เส้นทางการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตในไทยเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่อเมริกามี 3 เส้นทางNECTEC, จุฬาลงกรณ์ และ KSC

วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่าน เกตเวย์(Gateway) หรือ IP Routerสายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่าน Internet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง
โปรโตคอล(Protocol) คืออะไรเป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบ
ตัวอย่างของโปรโตคอล
TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
FTP(File Transfer Protocol)
HTTP(Hyptertext Trasfer Protocol)
ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ UNIX
Apache , NCSA httpd ฯลฯ
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS NT
IIS(Internet Information Server)


โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic
สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์ ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไปสามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP, Usenet News ไว้ด้วยเป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator
Marc Andressen กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Mosaic Communication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรมยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุนภาษา Java และ Javascript
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorerผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯเกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน

                                                                  IP Address คืออะไร




เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 202.44.194.6 ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่  ถึง 28-1 = 255 เท่านั้นโฮสต์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องขอหมายเลข IP นี้จากหน่วยงาน Internet Network Information Center(InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated(NSI) สหรัฐอเมริกาผู้ใช้ธรรมดาทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต(Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อรับหมายเลข IP จาก ISP ได้

                                           Domain name การกำหนดชื่อ www


DNS(Domain Name System) คืออะไร
เป็นเทคนิคการเปลี่ยนหมายเลข IP ที่เป็นตัวเลขให้เป็นตัวอักษรแทน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
ตัวอย่างของ DNS เช่น DNS IP Address
kku1.kku.ac.th -------> 202.12.97.1 DNS(Domain Name System)

รูปแบบของ DNS มีดังต่อไปนี้
ชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์.ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น[.ชื่อโดเมนย่อย.].ชื่อโดเมนระดับบนชื่อโดเมนระดับบน จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกาเช่นcom commercial กลุ่มองค์กรเอกชนedu educational กลุ่มสถาบันการศึกษาgov governmental กลุ่มองค์กรของรัฐทั่วไปmil military กลุ่มองค์กรทหารnet network services กลุ่มองค์กรบริหารเครือข่ายorg non-commercial organization กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไรเช่น biz.zd.com
ชื่อโดเมนระดับบนที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่างๆ เช่น au ออสเตรเลีย jp ญี่ปุ่น ca แคนาดา th ไทย fr ฝรั่งเศส uk อังกฤษจะมีสับโดเมน(Subdomain) ที่แสดงถึงประเภทขององค์กรในประเทศนั้นๆ เช่น ac สถาบันการศึกษา go องค์กรรัฐบาล co องค์กรเอกชน or องค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น kku1.kku.ac.th
                     World Wide Web(WWW) คืออะไร


เกิดขึ้นในปี 1989 โดย Tim Berners-Lee แห่งห้องปฏิบัติการ CERN
เป็นบริการหนึ่งที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเตอร์ง่ายขึ้น ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไปเป็นการแสดงเอกสารที่อยู่ในรูปของสื่อผสม(Multimedia) ที่เรียกว่าเว็บเพจ(Web Page) ที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ และไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext)


ส่วนประกอบของ WWW แหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์(Web Site) โปรแกรมเว็บบราวเซอร์(Web Browser)
เว็บไซต์หรือเว็บเซิรฟ์เวอร์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บ เว็บเพจ เว็บบราวเซอร์ หรือเว็บไคลเอ็นต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้าสู่ WWW เพื่อเปิดดูเว็บเพจในเว็บไซต์
โฮมเพจ(Home Page) คืออะไรเป็นหน้าแรกของเว็บเพจทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการจะพบเมื่อมีการเข้าไปยังเว็บไซต์ใดๆ
  • เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้ผู้บริการทราบว่าในเว็บไซต์นั้นมีบริการ
    ใดบ้าง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรของตน
  • ภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ เชื่อมโยง
    ต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมาก
เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)


หรือเรียกย่อๆว่า เบราว์เซอร์ คือโปรแกรมที่ใช้แสดงผลเว็บเพจ เว็บเบราว์เซอร์  ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในขณะนี้ คืออินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พรอเรอะร์ (Internet Explorer หรือ IE) ของไมโครซอฟต์ เหตุที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเคยเป็นโปรแกรมแถมฟรีมากับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ จนถึงรุ่น Windows 2000 เบราว์เซอร์ ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือเน็ตสเคป (Netscape)  ซึ่งออกมาก่อน IE ด้วย ซ้ำ แต่ต้องพ่ายแพ้กลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่ง นอกจากนี้ ยังมีเบราว์เซอร์ของผู้ผลิตรายอื่นอีก รวมทั้งเบราว์เซอร์ ที่เป็นแชร์แวร์ และฟรีแวร์ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่ต้องซื้ออีกหลายโปรแกรม เช่น Opera สามารถ ดาวน์โหลดได้ที่  HYPERLINK http://www.opera.com  http://www.opera.com   และ Mozila สามารถดาวน์โหลดได้ที่  HYPERLINK "http://www.mozila.org"  http://www.mozila.org ทั้งสองโปรแกรมและโปรแกรมเบราว์เซอร์ฟรีอื่นๆ  สามารถดาวน์โหลดได้ที่  HYPERLINK"http://www.download.com/2001-2137-0.html" http://www.download.com/2001-2137-0.html 

            เว็บเบราว์เซอร์มีหน้าที่หลัก 2 อย่าง  
            1. ทำการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านระบบการเชื่อมต่อตามที่ตั้งค่าไว้ เช่นการเชื่อต่อโดยทางโทรศัพท์(Dial-up Connection) หรือการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแลน เป็นต้น 
           2 ทำการแสดงผลเว็บเพจโดยเริ่มการส่งข้อความ (Message) ไปที่ URL (ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ) เพื่อขอรับข้อมูล เครื่องแม่ข่ายของเว็บไซต์จะส่งข้อมูลมาให้ในรูปเอกสาร HTML เมื่อได้รับแล้วเว็บเบราว์เซอร์จะตีความคำสั่งการแสดงผลที่มากับเอกสาร HTML นั้นและทำการแสดงผลออกมาในรูปของเว็บเพจ

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย




ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand





กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)


ที่มา :  ความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ต จากhttp://www.udomsuksa.ac.th/Latphrao/Knowledge/Technology/Internet/mainlesson.html




                                                                    


วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง บล็อก



                  มารู้จักความหมาย ของประโยคคำถาม ที่มักจะมีคนถามกันบ่อย ๆ  ว่า “Blog คืออะไรกันดีกว่าคะ
 Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)


                 ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

               มาเรียนรู้การเขียนบล็อกเกอร์กันจากวีดีโอข้างล่างนี้คะ



               มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเ�� ทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเ�� ท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเ�� ท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิต�� ัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเ�� ทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ  และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกมีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
อ่านจบบทความนี้ คิดว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะเข้าใจว่า Blog คืออะไร เพิ่มขึ้นมากแล้วนะคะ

                                             ขั้นตอนการทำบล็อก
ขั้นแรก   เข้าไปที่ http://www.blogger.com/



ถ้าคุณเคยสมัครอะไรของ google ไว้แล้ว เช่น เคยสมัครเมล์ gmail ก็สามารถใช้ รหัส gmail login ในช่อง ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลย...หรือถ้าไม่เคยสมัครอะไร หรืออยากจะสมัครใหม่ ก็ คลิกคลิกที่ลูกศรสีส้ม สร้างบล็อคของคุณทันที





..ที่อยู่อีเมล ใส่เมล์ของเรานะครับ เมล์อะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น gmail ครับ ก็ประมาณว่า เมล์ที่เราใช้อยู่นั่นแหละครับ
..ใส่เมล์นั้นอีกครั้งครับ
..กำหนดรหัสผ่าน ตั้งขึ้นมาเลย ไม่ใช่รหัสเมล์นะครับ เป็นรหัสที่เราตั้งขึ้นเพื่อสมัคร blogger ครับ
..ชื่อที่แสดง ก็อย่างที่ในเว็บบอกครับ คือ คือนี่จะแสดงว่าเราเราโพสข้อความอะไรใน blog ของเรา หรือเขียนคอมเม้น แสดงความคิดเห็น blog ของคนอื่น
...รหัสยืนยัน ใส่รหัสสุ่มตามภาพที่ขึ้นมา
...ทำเครื่องหมายช่องสี่เหลี่ยม ยอมรับข้อตกลง ...จากนั้นคลิก ดำดำเนินการต่อ

ตั้งชื่อเว็บบล็อกเลยครับ ชื่อจะปรากฏที่บนสุดของ blog เช่นภาพ
สำหรับการ ตรวจสอบความพร้อมคือ ตรวจสอบว่าชื่อที่ตั้งอยู่ ซ้ำหรือมีใครใช้อยู่หรือยัง
ถ้าขึ้น ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้ ก็สามารถใช้ชื่อนี้ได้ครับ

*** ทั้งชื่อเว็บบล็อก และที่อยู่ บล็อก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลังครับ
และ 1 user ที่ใช้ login blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ครับ
ถ้าอยากสร้างอีก ก็สมัคร account blogger ใหม่ เพิ่มอีกครับ ***

ขั้นตอนต่อไปก็จะมีให้เลือกรูปแบบของ blog เลือกได้เลยครับ
ชอบแบบไหนก็เลือกไปก่อน สามารถ เปลี่ยนแปลง


หลังจากนั้น จะมาถึงขั้นตอน เริ่มต้นการเขียนบล็อก เพื่อนำเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ



ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ blog ของ blogger ก่อนครับ
ก่อนเขียน blog เราต้องทำความเข้าใจและวางแผนก่อนครับ

.. blog เราสามารถ เขียนข้อความต่างๆ แทรกภาพ หรือนำเสนอต่างๆได้ ...
การเขียน blog ที่ blogger
- ข้อความล่าสุด จะอยู่ที่หน้า blog
- ข้อความต่างๆที่เขียนไป จะเป็นหัวข้อ รวมอยู่ในคลังบทความของบล็อก ซึ่งคำว่า "คลังบทความของบล็อก" ตัวอย่าง blog เที่ยววังน้ำเขียว http://wang-namkeaw.blogspot.com ผมแก้คำว่า คลังบทความของบล็อก เป็น "รายละเอียด การท่องเที่ยว อ.วังน้ำเขียว" ซึ่งวิธีแก้เข้าที่หัวข้อ รูปแบบ...องค์ประกอบของหน้า



คลิกเข้าที่แก้ไข เพื่อเข้าไปแก้ไขคำว่า คลังบทความของบล็อก

สำหรับรูปแบบของ blog เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบ ของ blogger จะอธิบายอีกทีครับ ...เกี่ยวกับคลังของบทความ เราควรวางแผนแล้วว่า บทความหรือข้อความต่างๆที่เราจะเขียน blog จะเรียงลงมา เมื่อมีผู้เข้าเยี่ยมชม blog ของเรา ผู้เยี่ยมก็จะเห็นหัวข้อเหล่านั้น และเลือกที่จะคลิกอ่านได้ เป็นผลดีในการนำเสนอ
- สำหรับบทความต่างๆ หรือข้อความต่างๆที่เราจะนำเสนอใน blog ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรกครับ หน้าแรกของ blog ควรจะเป็นเหมือนหน้ารับแขก ซึ่งออกแบบ เพื่อดึงดูดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้สนใจ และอ่าน blog ..แล้วจะทำงัยล่ะ ? เมื่อข้อความต่างๆที่เรา เขียนไป เป็นหัวข้อต่างๆ ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรก ถ้าเราออกแบบ หน้าที่ดึงดูดความสนใจ ไว้เป็นหน้าแรกแล้ว ถ้าเรามีข้อความมาเขียน หรือ นำเสนออีก จะทำงัย ให้หน้าที่เราออกแบบไว้ อยู่หน้าแรก
...วิธีการง่ายๆก็คือ แต่ละบทความที่เราเขียนไป สามารถแก้ไขได้ เราเข้าไปแก้ไขบทความนั้น แก้ไขตรงวันที่ หรือจะแก้ไขเวลาด้วยก็ได้ ให้เป็นวันที่ล่าสุด เพื่อให้บทความนั้นยังอยู่หน้าแรกนั่นเอง ...อยู่ล่างๆ นะครับ คลิกที่ตัวเลือกของบทความ แล้วจะของบทความและจะมีการแก้ไขได้




สำหรับ ป้ายกำกับสำหรับบทความนี้: ...หมายถืง คีย์เวิร์ด สำคัญ หรือน่าสนใจ ในบทความหรือข้อความนั้นๆนะครับ เวลาโพสหรือเขียนข้อความไปแล้ว จะขึ้นเป็นข้อความ ป้ายกำกับ อยู่ล่างสุดของบทความ



..ทำความเข้าใจ การโพส หรือการเขียนข้อความ
...เผยแพร่บทความ คือเขียนข้อความเสร็จแล้ว ต้องการโพสใน blog แล้ว
...สำหรับ บันทึกทันที หมายถึง เราเขียนแล้ว แต่ยังไม่อยากนำเสนอลงใน blog เราอาจยังเขียนไม่เสร็จ เราใช้ปุ่มบึนทึกทันที บันทึกไว้ก่อน ยังไม่แสดงใน blog เพื่อไว้จะมาแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อีกทีในภายหลังครับ
...กลับมาเรื่องป้ายกำกับ เราสามารถแทรกไว้ใน blog เป็นเมนูได้ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม ได้เลือกอ่านได้ ซึ่งใน blog เที่ยววังน้ำเขียว http://wang-namkeaw.blogspot.com ป้ายกำกับ รวมอยู่ด้านขวานะครับ ที่เป็นหัวข้อ "คีย์เวิร์ด เด่นๆ ในการเที่ยว วังน้ำเขียว" ซึ่งแต่ก่อน จะเป็นหัวข้อว่า "ป้ายกำกับ" ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อหัวข้อได้ครับ
...สำหรับการเพิ่ม ส่วนของป้ายกำกับ ทำได้โดย มาที่องค์ประกอบของหน้า



มาที่เพิ่ม Gadget ตรงไหนก็ได้ครับ ปกติจะอยู่ทางด้านซ้าย และล่างสุด
เลือก ป้ายกำกับ แล้วคลิกเครื่องหมาย บวก + เพื่อเลือกรูปแบบ ป้ายกำกับเข้ามาใน

...จะมีป้ายกำกับขึ้นมา เพื่อให้คลิก บันทึก เป็นการแทรกโดยสมบูรณ์ ...หรือจะแก้ไข คำว่า ป้ายกำกับ เลยก็ได้ หรือค่อยกลับมาแก้ไขภายหลังได้ครับ
เมื่อแทรกแล้ว ก็จะมีรูปแบบของป้ายกำกับเข้ามาในblog



...สำหรับ หัวข้อส่วนต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้ เพื่อจัดรูปแบบต่างๆของ blog โดยเอาเม้าส์ คลิกค้าง แล้วลากไปตามส่วนต่างๆ ได้ตามต้องการ

...มาถึงที่ติดค้างไว้ คือรูปแบบของเว็บ เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบของ blogger
การใส่แม่แบบนอกเหนือจากแม่แบบที่มี ใน blogger ทำดังนี้
เข้าไปที่ http://btemplates.com/ จะมีรูปแบบต่างๆให้เลือก ดาวน์โหลด
ไฟล์ที่โหลดมา จะเป็นไฟล์ .zip ให้เรา แตกไฟล์ .zip ออกมา จะได้เป็นไฟล์ .xml
..เราจะเอาไฟล์ .xml เข้า blog ได้อย่างไร ?
,มาที่เมนู รูปแบบ หัวข้อ แก้ไข HTML จะมีให้ Browse เพื่อเลือกไฟล์ .xml ที่เรามีในเครื่อง (ที่เราไปโหลดมา)
แล้วคลิก อัปโหลด เพื่อ โหลดไฟล์ xml เข้าไปในblog


จะมีบางรายการขึ้นมา ว่าส่วนไหนบ้างของแม่แบบเก่า จะหายไป ก็คลิกที่
ยืนยันและบันทึก เพื่อ เปลี่ยนแปลงให้ blog เรา เป็นแม่แบบใหม่ ที่ต้องการ
...สำหรับข้อความ บทความในการโพสต่างๆ ก็จะยังอยู่นะครับ จะไม่หายไปไหน เป็นการเปลี่ยนแม่แบบเฉยๆ
แต่ส่วนของการตกแต่ง หรือ Gadget ต่างๆที่เราเพิ่มเติมเสริมใน แม่แบบเก่า จะหายไป เราค่อยมาเลือก Gadget เพื่อตกแต่งใหม่ได้ครับ


...มาดูเมนูการตั้งค่า ซะหน่อย
บางคนสงสัยครับว่า blog ที่เขียน บทความต่างๆ ยาวลงมามาก ไม่รู้จะทำงัย มาที่ เมนูการตั้งค่า แล้วมาที่ การจัดรูปแบบ
สามารถเลือกได้ว่า จะแสดง หน้าละกี่บทความครับ
...ในเมนูนี้ ยังสามารถเปลี่ยน ภาษาได้ด้วย เป็นการเปลี่ยนภาษาของเมนูต่างๆ ใน blog ของเราครับ กรณี เราทำ blog ภาษาอังกฤษ แล้วอยากให้เมนูต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ

...และอย่าลืม เข้ามาเปลี่ยน โซนเวลา ให้เป็น GMT +7 กรุงเทพด้วยนะครับ จะได้เช็คเวลาได้ กรณีมีใครมาเขียน แสดงความคิดเห็นใน blog เราครับ


ชื่อ blog สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ด้วยนะครับ มาที่ เมนู การเผยแพร่ครับ ...มีประโยชน์กรณีที่เรา เขียนและตกแต่ง blog เยอะแล้ว แต่ไม่พอใจชื่อ blog ที่ใช้อยู่ ครับ เราก็สามารถแก้ไขได้ครับ

... 1 user สามารถเขียน blog ได้ 100 blog ...
เห็นหัวบนสุด ในระบบการเขียน blog มั้ยครับ คลิกที่แผงควบคุม จะมีรายการ blog ต่างๆที่เราทำไว้เรียงลงมาให้เห็น
..กรณีที่ยังไม่มี ก็จะมี blog ที่เราพึ่งทำนั่นแหละครับ 1 รายการ ถ้าเราจะทำ blog ใหม่เพิ่มอีก เรา ก็คลิกที่ สร้างบล็อกครับ ก็จะมีให้ตั้งชื่อ เพื่อสร้าง blog เพิ่มครับ ซึ่ง 1 user ของ blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ถ้าเราอยากสร้างมากกว่านั้น เราก็สมัคร blogger เพิ่มใหม่อีก User ครับ


... จบแล้วครับ ความรู้ในการเขียน blog และการวางแผนในการจัดรูปแบบ blog เพื่อความสวยงาม
...คัดลอกได้ครับ แต่ต้องอ้างอิงว่า เอาความรู้ มาจาก http://www.makemoney-school.com ด้วย

ที่มา   :  MakeMoney-School.Com