วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

                 ความหมาย       
                             
   

เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Network Computer System) ที่ใหญ่ที่สุด เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายในโลกเข้าด้วยกัน เช่นเครือข่ายแลน เครือข่ายของเครื่องมินิหรือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์แต่ละเครือข่ายจะต้องมีเครื่องแม่ข่าย(Server) ที่เรียกว่า โฮสต์(Host)  คอมพิวเตอร์หน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ                                   




   
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
                                         
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด


สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา 
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

การใช้งาน การเชื่อมต่อแบบต่างๆ

 การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
เริ่มเชื่อมต่อครั้งแรกในปี 2532 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุดประสงค์เพื่อใช้รับส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลล์กับประเทศออสเตรเลียศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(NECTEC) จัดทำโครงการ
เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น
เส้นทางการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตในไทยเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่อเมริกามี 3 เส้นทางNECTEC, จุฬาลงกรณ์ และ KSC

วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่าน เกตเวย์(Gateway) หรือ IP Routerสายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่าน Internet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง
โปรโตคอล(Protocol) คืออะไรเป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบ
ตัวอย่างของโปรโตคอล
TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
FTP(File Transfer Protocol)
HTTP(Hyptertext Trasfer Protocol)
ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ UNIX
Apache , NCSA httpd ฯลฯ
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS NT
IIS(Internet Information Server)


โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic
สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์ ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไปสามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP, Usenet News ไว้ด้วยเป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator
Marc Andressen กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Mosaic Communication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรมยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุนภาษา Java และ Javascript
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorerผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯเกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน

                                                                  IP Address คืออะไร




เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 202.44.194.6 ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่  ถึง 28-1 = 255 เท่านั้นโฮสต์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องขอหมายเลข IP นี้จากหน่วยงาน Internet Network Information Center(InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated(NSI) สหรัฐอเมริกาผู้ใช้ธรรมดาทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต(Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อรับหมายเลข IP จาก ISP ได้

                                           Domain name การกำหนดชื่อ www


DNS(Domain Name System) คืออะไร
เป็นเทคนิคการเปลี่ยนหมายเลข IP ที่เป็นตัวเลขให้เป็นตัวอักษรแทน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
ตัวอย่างของ DNS เช่น DNS IP Address
kku1.kku.ac.th -------> 202.12.97.1 DNS(Domain Name System)

รูปแบบของ DNS มีดังต่อไปนี้
ชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์.ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น[.ชื่อโดเมนย่อย.].ชื่อโดเมนระดับบนชื่อโดเมนระดับบน จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกาเช่นcom commercial กลุ่มองค์กรเอกชนedu educational กลุ่มสถาบันการศึกษาgov governmental กลุ่มองค์กรของรัฐทั่วไปmil military กลุ่มองค์กรทหารnet network services กลุ่มองค์กรบริหารเครือข่ายorg non-commercial organization กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไรเช่น biz.zd.com
ชื่อโดเมนระดับบนที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่างๆ เช่น au ออสเตรเลีย jp ญี่ปุ่น ca แคนาดา th ไทย fr ฝรั่งเศส uk อังกฤษจะมีสับโดเมน(Subdomain) ที่แสดงถึงประเภทขององค์กรในประเทศนั้นๆ เช่น ac สถาบันการศึกษา go องค์กรรัฐบาล co องค์กรเอกชน or องค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น kku1.kku.ac.th
                     World Wide Web(WWW) คืออะไร


เกิดขึ้นในปี 1989 โดย Tim Berners-Lee แห่งห้องปฏิบัติการ CERN
เป็นบริการหนึ่งที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเตอร์ง่ายขึ้น ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไปเป็นการแสดงเอกสารที่อยู่ในรูปของสื่อผสม(Multimedia) ที่เรียกว่าเว็บเพจ(Web Page) ที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ และไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext)


ส่วนประกอบของ WWW แหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์(Web Site) โปรแกรมเว็บบราวเซอร์(Web Browser)
เว็บไซต์หรือเว็บเซิรฟ์เวอร์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บ เว็บเพจ เว็บบราวเซอร์ หรือเว็บไคลเอ็นต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้าสู่ WWW เพื่อเปิดดูเว็บเพจในเว็บไซต์
โฮมเพจ(Home Page) คืออะไรเป็นหน้าแรกของเว็บเพจทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการจะพบเมื่อมีการเข้าไปยังเว็บไซต์ใดๆ
  • เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้ผู้บริการทราบว่าในเว็บไซต์นั้นมีบริการ
    ใดบ้าง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรของตน
  • ภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ เชื่อมโยง
    ต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมาก
เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)


หรือเรียกย่อๆว่า เบราว์เซอร์ คือโปรแกรมที่ใช้แสดงผลเว็บเพจ เว็บเบราว์เซอร์  ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในขณะนี้ คืออินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พรอเรอะร์ (Internet Explorer หรือ IE) ของไมโครซอฟต์ เหตุที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเคยเป็นโปรแกรมแถมฟรีมากับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ จนถึงรุ่น Windows 2000 เบราว์เซอร์ ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือเน็ตสเคป (Netscape)  ซึ่งออกมาก่อน IE ด้วย ซ้ำ แต่ต้องพ่ายแพ้กลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่ง นอกจากนี้ ยังมีเบราว์เซอร์ของผู้ผลิตรายอื่นอีก รวมทั้งเบราว์เซอร์ ที่เป็นแชร์แวร์ และฟรีแวร์ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่ต้องซื้ออีกหลายโปรแกรม เช่น Opera สามารถ ดาวน์โหลดได้ที่  HYPERLINK http://www.opera.com  http://www.opera.com   และ Mozila สามารถดาวน์โหลดได้ที่  HYPERLINK "http://www.mozila.org"  http://www.mozila.org ทั้งสองโปรแกรมและโปรแกรมเบราว์เซอร์ฟรีอื่นๆ  สามารถดาวน์โหลดได้ที่  HYPERLINK"http://www.download.com/2001-2137-0.html" http://www.download.com/2001-2137-0.html 

            เว็บเบราว์เซอร์มีหน้าที่หลัก 2 อย่าง  
            1. ทำการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านระบบการเชื่อมต่อตามที่ตั้งค่าไว้ เช่นการเชื่อต่อโดยทางโทรศัพท์(Dial-up Connection) หรือการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแลน เป็นต้น 
           2 ทำการแสดงผลเว็บเพจโดยเริ่มการส่งข้อความ (Message) ไปที่ URL (ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ) เพื่อขอรับข้อมูล เครื่องแม่ข่ายของเว็บไซต์จะส่งข้อมูลมาให้ในรูปเอกสาร HTML เมื่อได้รับแล้วเว็บเบราว์เซอร์จะตีความคำสั่งการแสดงผลที่มากับเอกสาร HTML นั้นและทำการแสดงผลออกมาในรูปของเว็บเพจ

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย




ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand





กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)


ที่มา :  ความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ต จากhttp://www.udomsuksa.ac.th/Latphrao/Knowledge/Technology/Internet/mainlesson.html




                                                                    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น